Sample Batic T-Shirt

ผ้าบาติก BATIK

เขียนโดย charunee วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553



    
Batik (Javanese pronunciation: ) Indonesian pronunciation; is a cloth which traditionally uses a manual wax-resist dyeing technique. Due to modern advances in the textile industry, the term has been extended to include fabrics which incorporate traditional batik patterns even if they are not produced using the wax-resist dyeing techniques. Silk batik is especially popular.[citation needed]
Javanese traditional batik, especially from Yogyakarta and Surakarta, has special meanings rooted to the Javanese conceptualization of the universe. Traditional colours include indigo, dark brown, and white which represent the three major Hindu Gods (Brahmā, Visnu, and Śiva). This is related to the fact that natural dyes are only available in indigo and brown. Certain patterns can only be worn by nobility; traditionally, wider stripes or wavy lines of greater width indicated higher rank. Consequently, during Javanese ceremonies, one could determine the royal lineage of a person by the cloth he or she was wearing.

Other regions of Indonesia have their own unique patterns which normally take themes from everyday lives, incorporating patterns such as flowers, nature, animals, folklore or people. The colours of pesisir batik, from the coastal cities of northern Java, is especially vibrant, and it absorbs influence from the Javanese, Arab, Chinese and Dutch culture. In the colonial times pesisir batik was a favorite of the Peranakan Chinese, Dutch and Eurasians.[citation needed].
UNESCO designated Indonesian batik as a Masterpiece of Oral and Intangible Heritage of Humanity on October 2, 2009. As part of the acknowledgment, UNESCO insisted that Indonesia preserve their heritage.[1]

Batik or fabrics with the traditional batik patterns are also found in several countries such as Malaysia, Japan, China, Azerbaijan, India, Sri Lanka, Egypt, Nigeria, Senegal, and Singapore. Malaysian batik often displays plants and flowers, as Islam forbid pictures of other living beings
     ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน แล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ

คำว่าบาติก {Batik} หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า “ ติก ” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติก จึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ

วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน { wax- writing} ดังนั้นผ้าบาติก จึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก
ขั้นตอนการทำ

                           

                    
                                                                                  

1. นำผ้ามัสลินติดลงบนเฟรม

2.วาดเส้นร่างด้วยดินสอ หรือทาบรอยตามแบบ

3. ลากเส้นเทียนตามรอยร่างด้วยดินสอ

4. ตรวจเช็คเส้นเทียนว่าเส้นขาดตอนหรือไม่

5. นำสีมาละลายด้วยน้ำอุ่นให้อัตราส่วน 1 ต่อ 10

6. เคลือบน้ำยาโซเดียมซิลิเกตมีอยู่ 2 วิธี คือ

1. เคลือบโดยวิธีการทาระบายด้วยแปรงหรือ พู่กันให้ทั่วในขณะขึงอยู่บนเฟรม

2. เคลือบโดยการจมลงไปไนถังน้ำยา กดให้จม ให้น้ำยาเปียกทั่วทั้งผืน แล้วยกมาพาดไว้ปาก

7. ล้างน้ำยาออกหลังจากทิ้ง ๑ว้ประมาณ 8 ชั่วโมง การ ล้างควรล้างทีละชิ้น ในภาชนะขนาดโตสามารถใส่น้ำ ได้ปริมาณมาก เพราะจะมีสีส่วนเกินหลุดออกมา จ๑ต้องเเดน้ำไห้ ไหลผ่านอยู่ตลอดเวลาหรือเปลี่ยนน้ำ บ่อยๆ ในขณะล้างถาหาก ไม่มีเวลา ต้มผ้าหลังจากล้าง เสร็จจะต้อง{เช่ผ้า ไว้ในน้ำตลอดเวลาเพือมิให้สี ส่วนเกินที่ยังหลุดออกไม่หมด อกมาเปราะเปี้อนได้ หากวางทับกัน

8. ลวกเอาเส้นเทียนออกโดยการต้มน้ำให้เดือด ใส่ผลซักผ้า หรือสบู่เหลวประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยจุ่มผ้าลงไปในน้ำขณะกำลังเดือดให้จมทั้งผืน แล้วค่อยๆ ยกขึ้นมาสังเกตดูว่าเส้นเทียนหลุดออกหมดหรือยัง ห้ามต้มแช่ไว้นานเป็นอันขาด จะทำให้ผ้าเสียได้

9. ซัก ล้าง หลังจากต้มผ้าหรือลวกผ้า เพื่อเอาเส้นเทียนออก แล้วจะมีเศษเทียนเกาะติดอยู่บ้าง ควรทำการขยี้ผ้าเบาๆ ในน้ำ ผงซักฟอก เพื่อให้เศษเทียนหลุดออก แช่น้ำเปล่าทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนนำไปตาก เพื่อให้สีส่วนเกิน หลุดออกไปหมด ก่อนจะนำไปตากแดด

10. ตากแดด

11. รีด



เกล็ดความรู้เรื่องผ้าบาติก

ตั้งแต่ผู้เขียนย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นเวลากว่า 2 ปี มีโอกาสไปปฏิบัติหน้าที่ตามต่างจังหวัดหลายครั้ง ทั้งการคุมสอบ สอนเสริม และปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ สิ่งที่ได้พบเห็นและสัมผัสถึงความเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นก็คือวัฒนธรรมการแต่งกายและอาชีพของประชาชนใน

แต่ละจังหวัด โดยเฉพาะแถบจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา บางโรงเรียนเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพให้กับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาโดยเลือกสอนวิชาการทำผ้าบาติก บางคนใช้วิชานี้ยึดเป็นอาชีพให้กับตนเองและครอบครัวภายหลังสำเร็จการศึกษา ครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสไปคุมสอบที่จังหวดยะลาร่วมกับ ดร.ทวี นาคบุตร ต้องขออนุญาตเอ่ยนามท่านซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการสอบ ส่วนผมไปในฐานะกรรมการกลางในขณะที่ปฐมนิเทศและแนะนำตัวอาจารย์ทวีได้กล่าวว่าผมมีความเชี่ยวชาญทางด้านสิ่งทอ และเป็นอาจารย์เพียงคนเดียวในมหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษาทางด้านนี้มา ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมมีกลุ่มอาจารย์ในโรงเรียนหลายคนได้เข้ามาหารือเกี่ยวกับความรู้เรื่องผ้าบาติก และมีอยู่ท่านหนึ่งเชิญผมออกไปพบกับตัวแทนชาวบ้านซึ่งเป็นศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการผลิตผ้าชนิดนี้ ครอบครัวของเขาได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ขณะที่เยี่ยมชมการดำเนินงานที่ทำเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวเขาได้ให้ผมช่วยอธิบายรวมทั้งขอคำแนะนำความรู้

เกี่ยวกับเส้นใยสิ่งทอที่นำมาผลิตเป็นผืนผ้า

สิ่งที่ผมประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับวัฒนธรรมการแต่งกาย มีอยู่ครั้งหนึ่งผมได้ไปราชการที่จังหวัดพังงา และได้ไปพักพิงที่บ้านญาติของ ดร.สุรพร เสี้ยนสลาย ในจังหวัดภูเก็ต บังเอิญวันศุกร์เป็นวันที่ผมและอาจารย์ว่างเว้นจากการปฏิบัติหน้าที่ และได้มีโอกาสเข้าไปเที่ยวในตัวอำเภอเมือง สิ่งที่พบเห็นทำให้เกิดความสงสัยก็คือ สถานที่ราชการหลายแห่งมีประเพณีที่ยึดถือและปฏิบัติกันเป็นประจำคือทุกวันศุกร์ เขาเชิญชวนให้ข้าราชการแต่งกายด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าบาติก ที่แรกผมมึนงงกับสิ่งที่ได้พบเห็นเพราะผ้าบาติกมีลักษณะพิเศษที่เด่นชัดก็คือ ลวดลายที่ปรากฏเกิดจากสีสรรที่ผู้ออกแบบเจตนาสร้างให้เกิดขึ้น ข้าราชการในจังหวัดภูเก็ตใส่เสื้อที่มีลวดลายเป็นรูปทะเล สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ วัดวาอาราม รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด ผมอิจฉาในแนวคิดของผู้ริเริ่มโครงการที่ใช้เสื้อผ้าเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ซึ่งบ่งบอกถึงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม สมควรที่จังหวัดอื่นน่าจะนำแนวคิดนี้ไปใช้บ้าง

1 Responses to ผ้าบาติก BATIK

  1. mim Says:
  2. สวัสดีป้า จา นี่มิ้มเองนะค่ะ แวะเข้ามาเยี่ยมป้าจา
    วันนี้ขายของดีมั้ยค่ะ
    ว่างๆก็แวะมาเยี่ยมหนูบ้างนะค่ะ
    http://homelove-mim.blogspot.com

     

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสินค้าผ้าบาติก

ตัวอย่างสินค้าผ้าบาติก
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตามความต้องการของลูกค้า ราคาเสื้อเริ่มต้น 350-บาท(ไม่รวมค่าส่ง)

product-amazon

ตัวอย่างตุ๊กตาชาววัง

ตัวอย่างตุ๊กตาชาววัง
ตุ๊กตามีหลายชุดอาทิ ชุดมวยไทย ชุดเณรน้อย ชุดดนตรีไทยเป็นต้น ราคาเริ่มต้นที่ 120.- บาท,

youtube

object width="325" height="444">

Followers

Made to order

Made to order
แนะนำสินค้า ผ้าบาติก ติดต่อ 081-9152376 จารุณี

สินค้า handmade เป็นสินค้าที่กลุ่มแม่บ้านจากชุมชุนต่างๆของไทย ที่ได้ัจัดทำขึ้นจากความชำนาญ ที่ถูกถ่่ายทอด กันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่าเป็นการนำเอาวัสดุในธรรมชาติมาผลิต และนำมาพัฒนา ดัดแปลงให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่พร้อมทั้งนำเอาเทคนิคใหม่มาพัฒนาให้เป็นสินค้า handmade ของแต่ละชุมชนโดยในการพัฒนานี้บ้างก็ได้รับความสนับสนุนจากภาครัฐบาล โดยได้จัดให้มีการอบรมนำเอาความรู้ใหม่มาพัฒนาจนเป็นสินค้าที่นิยมและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน จนบางครั้งใช้คำเรียกว่่าสินค้าเหล่านั้นว่า OTOP สินค้าเหล่านี้มีทั้งที่เป็นของประเทืองผิวพรรณ เป็นของใช้ในครัวเรือนบ้าง เป็นของตกแต่งบ้านซึ่งมีทั้งที่ทำจากไม้ จากใบลาน ที่รวมเรียกว่าเครื่องจักสาน รวมทั้งสินค้าพวกแฟชั่นสำหรับวัยรุ่น หากท่านที่สนใจในผลิตภัณฑ์ ของชุมชนต่างสามารถสอบถามและติดต่อเสอบถามราคาหรือจะเป็นตัวแทนจำหน่ายได้ที่ 081-9152376 หรือที่ email: charuneec@hotmail.com