Sample Batic T-Shirt

จักสาน

เขียนโดย charunee วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Product made of woven vine


Delicate and exquisite works of art could be seen in several product types such as basket, bag, hat, utensils, etc.Piece of vine would be boiled to soften its skin, then peeled, cleaned and dried up. For creating any desirable works, we have to soak up vine materials in the water first



ผลิตภัณฑ์การจักสานเครือเถาวัลย์ผลิตภัณฑ์การจักสานเครือเถาวัลย์ ทำด้วยความประณีต สวยงาม มีให้เลือกมากมาย เช่น ตะกร้า กระเป๋า ย่าม หมวกจักรยาน และเครื่องใช้ต่าง ๆ นำเครือเถาวัลย์มาต้มเพื่อให้เปลือกอ่อนตัว และลอกเอาเปลือกออก ทำความสะอาดและตากแดดให้แห้ง ก่อนนำมาประดิษฐ์แช่น้ำก่อนเพื่อให้อ่อนตัว นำมาประดิษฐ์เป้นของชำร่วย เครื่องใช้ในครัวเรือน

เครื่องจักสานไทยในภาคต่างๆ โดย นายวิบูลย์ ลี้สุวรรณ(ขอขอบคุณข้อมูลจากสารนุกรมสำหรับเยาวชนไทย)
          ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์มาแต่โบราณ สังคมไทยในอดีตจึงเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วยการทำไร่ไถนาและทำประมงเป็นหลัก การประกอบอาชีพของชาวบ้านทั่วไปจะใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ผลิตขึ้นเอง เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่คนไทยใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ มากมายหลายชนิด และเครื่องจักสานที่ผลิตขึ้นในภาคต่างๆ นั้นมักใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป ทำให้เครื่องจักสานที่ทำขึ้นเป็นรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามประเภทของวัตถุดิบ ประโยชน์ใช้สอย สภาพการดำรงชีวิตและสภาพภูมิศาสตร์ ความนิยมตามขนบประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เครื่องจักสานแต่ละภาคแต่ละถิ่นไทย มีรูปแบบแตกต่างกันไปอย่างน่
หัวข้อ
เครื่องจักสานภาคเหนือ
          ภาคเหนือ หรือล้านนาไทย เป็นดินแดนที่มีศิลปวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นเป็นของตนเอง เป็นเหตุให้เครื่องจักสานในภาคเหนือมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น นอกจากนี้ ภาคเหนือหรือล้านนาไทยมีสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ
          สภาพการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมทำให้ภาคเหนือเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้จักสานที่สำคัญ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังมีวัตถุดิบหลายชนิดที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ เช่น  กก แหย่ง ใบลาน และไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ไผ่ซึ่งมีหลายชนิดที่ใช้ทำเครื่องจักสานได้ดี
          นอกจากสภาพภูมิประเทศและการประกอบอาชีพของภาคเหนือที่เอื้ออำนวยให้ประชาชน ทำเครื่องจักสานแล้ว ศิลปวัฒนธรรม ขนบประเพณีและศาสนาของภาคเหนือ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เครื่องจักสานภาคเหนือมีเอกลักษณ์เป็นของตน เอง
          ภาคเหนือหรือล้านนาไทยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในวงล้อมของขุนเขา ทำให้ภาคเหนือมีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเองมาแต่โบราณมีภาษาพูด ภาษาเขียน ขนบประเพณี เป็นของตนเอง เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นเหล่านี้เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ เครื่องจักสานภาคเหนือมีเอกลักษณ์ของตนเอง
          การทำเครื่องจักสานพื้นบ้านภาคเหนือหรือล้านนาไทยนั้น ทำสืบต่อกันมาแต่โบราณ ดังมีหลักฐานปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังหลายแห่ง เช่น ภาพชาวบ้านกับเครื่องจักสานในภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดพระสิงห์วรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นภาพชาวบ้านกำลังนั่งสนทนากันอยู่ ข้างๆ ตัวมีภาชนะจักสานชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เปี้ยด หรือกระบุงวางอยู่รูปทรงของเปี้ยดในภาพคล้ายกับเปี้ยดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แสดงว่าชาวล้านนาสานเปี้ยดใช้มานานนับร้อยปี นอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสิงห์วรวิหารแล้ว ยังมีภาพของเครื่องจักสานปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกหลายภาพ เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
        
นอก จากนี้ วัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวของชาวเหนือ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดเครื่องจักสานที่เกี่ยว เนื่องกับการบริโภคข้าวเหนียวหลายอย่าง เช่น ลังถึงก๋วย ซ้าหวด ก่องข้าว กระติบข้าว แอบข้าวขันโตก ฯลฯ เครื่องจักสานเหล่านี้หลายชนิดมีลักษณะเฉพาะถิ่นโดดเด่น ได้แก่ ก่องข้าว แอบข้าว เปี้ยด เป็นต้น

         ก่องข้าว  ภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่งสานด้วยไม้ไผ่ มีขนาดและรูปทรงต่างๆ กัน ก่องข้าวของภาคเหนือทั่วไปแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือส่วนฐาน มักจะทำด้วยไม้เป็นรูปกากบาทติดอยู่กับส่วนก้นเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับตั้ง ตัวก่อง มักสานก้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือกลมต่อขึ้นมาเป็นทรงกระบอกคอคอดเข้าเล็กน้อย ส่วนที่สามคือฝา มีลักษณะเป็นฝาครอบ มักจะมีหูสำหรับร้อยเชือกที่ใช้เป็นที่หิ้วหรือแขวนมาจากตัวก่องรูปแบบของ ก่องข้าวในปัจจุบัน บางท้องถิ่นได้วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปจากโบราณบ้าง เช่นสานด้วยพลาสติกแทนตอก และมีรูปทรงแปลกๆแตกต่างกันไปตามความนิยมของผู้ใช้ แต่ประโยชน์และความสวยงามไม่สมบูรณ์ลงตัวเหมือนก่องข้าวที่สานด้วยไม้ไผ่
         แอบข้าว หรือ แอ๊บข้าว  ภาชนะใส่ข้าวเหนียวเช่นเดียวกับก่องข้าว แต่มีขนาดเล็กกว่าสำหรับพกพาติดตัวเวลาไปทำงานนอกบ้าน แอบข้าว มีส่วนประกอบสำคัญคือ ตัวแอบรูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฝาแอบรูปร่างเหมือนตัวแอบแต่ขนาดใหญ่กว่า เพราะใช้ครอบแอบข้าวแอบข้าวเหมาะสำหรับพกใส่ถุงย่าม ห่อผ้าคาดเอวออกไปทำนา ทำไร่ เช่นเดียวกับกล่องใส่อาหารในปัจจุบัน
         ก่องข้าวและแอบข้าวของภาคเหนือ เป็นเครื่องจักสานที่มีความสมบูรณ์ทั้งในด้านรูปแบบและประโยชน์ใช้สอย สอดคล้องกับความนิยมของประชาชนแต่ละถิ่น
          นอกจากนี้ในภาคเหนือยังมีเครื่องจักสานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่ใช้กัน แพร่หลายอีกหลายอย่าง เช่น บุง หรือ เปี้ยด ภาชนะสานสำหรับใส่ของเช่นเดียวกับกระบุงของภาคกลาง แต่บุงภาคเหนือมีรูปร่างต่างกันไป เช่น บุงเมืองแพร่ บุงลำพูนหรือบุงลำปาง จะมีขนาดค่อนข้างเล็กกว่ากระบุงภาคกลาง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะต้องการลดน้ำหนักของบุงให้น้อย เพราะบุงภาคเหนือใช้หาบของในภูมิประเทศที่เป็นเนิน ไม่สามารถหาบของที่มีน้ำหนักมากเหมือนกับภาคกลางซึ่งเป็นพื้นราบ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุงภาคเหนือมีลักษณะป้อมกลมไม่เป็นเหลี่ยมเหมือนกระบุง ภาคกลางนั้นช่วยให้บุงมีความคงทน ไม่แตกหักเสียหายง่ายเมื่อกระทบกระแทกกับสิ่งอื่น ใช้งานได้นาน
         การสานบุงภาคเหนือ จะสานก้นเป็นแผงสี่เหลี่ยม ด้วยลายสองก่อน ถัดขึ้นมาตรงกลางหรือกระพุ้งสานลายสาม ส่วนปากที่โค้งสอบเข้าสานลายหนึ่ง และใช้ตอกค่อนข้างเล็กเพื่อความแข็งแรงทนทาน การสานปากของบุงจะต่างกันไปตามความนิยมของท้องถิ่น เช่น บุงเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง จะเข้าขอบปากด้วยไม้ไผ่และหวาย ต่างกับบุงเมืองแพร่และน่าน จะสานขอบในตัวโดยการเม้มตอกสานสอดกันเป็นขอบแทนการเข้าขอบด้วยไม้ไผ่
         
บุง ภาคเหนือนอกจากจะใช้ใส่เมล็ดข้าวเปลือก เมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ แล้ว ยังใช้เป็นภาชนะสำหรับตวงหรือวัดปริมาณของเมล็ดพืชผลด้วยโดยใช้ขนาดของบุง เป็นเกณฑ์ เช่น บุงสามสิบห้าบุงสามสิบ คือ บุงที่มีความจุสามสิบห้าลิตร และบุงจุสามสิบลิตร เป็นต้น ในการสานบุงที่จะใช้ทำเครื่องตวงนี้จำเป็นจะต้องมีแบบหรือ "หุ่น" ที่สานด้วยไม้ไผ่ให้มีขนาดมาตรฐานเป็นแบบและยังช่วยให้บุงมีรูปทรงที่ดี ไม่บิดเบี้ยว มีความจุตรงตามต้องการ
          บุง หรือกระบุงของภาคเหนือดังกล่าว เป็นเครื่องจักสานที่มีเอกลักษณ์และความงามเฉพาะถิ่นของภาคเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องจักสานกับประเพณีนิยมของท้องถิ่น ทำให้เครื่องจักสานได้รับการออกแบบให้มีรูปทรงที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านใช้ สอยและความสวยงาม
          เครื่องจักสานของภาคเหนือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นโดดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ น้ำทุ่ง หรือน้ำถุ้ง เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ยาด้วยชันและน้ำมันยาง ใช้สำหรับตักน้ำจากบ่อน้ำ รูปร่างของน้ำทุ่งเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยเป็นอย่างดีคือ มีลักษณะคล้ายกรวยป้อมๆ ส่วนก้นมนแหลม ที่ปากมีไม้ไขว้กันเป็นหูสำหรับผูกกับเชือกเพื่อสาวน้ำทุ่งขึ้นมาจากบ่อน้ำ ความมน แหลมของก้นน้ำทุ่งจะช่วยให้น้ำทุ่งโคลงตัวคว่ำลงให้น้ำเข้าเมื่อโยนลงไปใน บ่อ นอกจากนี้ ลักษณะการสานที่แข็งแรงยังช่วยให้น้ำทุ่งมีความทนทาน แม้ในปัจจุบันจะมีผู้ผลิตน้ำทุ่งด้วยสังกะสีแต่ความคงทนและประโยชน์ใช้สอย สู้น้ำทุ่งที่สานด้วยไม้ไผ่ไม่ได้ แสดงว่าเครื่องจักสานพื้นบ้านที่คนโบราณผลิตขึ้นนั้น เลือกใช้วัตถุดิบท้องถิ่นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม และใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี
         นอกจากตัวอย่างของเครื่องจักสานไม้ไผ่ภาคเหนือดังกล่าวแล้ว ยังมีเครื่องจักสานที่ใช้ในชีวิตประจำวันอีกหลายชนิด เช่น ซ้าหวด กัวะข้าว ก่องข้าว แอบข้าว โตก ฝาชี แอบหมาก แอบเมี้ยง ซ้าชนิดต่างๆ หมวกหรือกุบ ก๋วยก๋วยก้า ก๋วยหมู ก๋วยโจน เข่งลำไย ซ้าล้อม ซ้าตาห่าง ซ้าตาทึบ หรือบุงตีบ น้ำทุ่ง น้ำเต้า คุ วี ต่างเปี้ยด หรือบุงชนิดต่างๆ เปลเด็ก เอิบ ไซชนิดต่างๆ สุ่ม ฯลฯ
         เ
ครื่อ งจักสานภาคเหนือยังทำด้วยวัตถุดิบอื่นๆอีก เช่น ใบลานและใบตาล ซึ่งทำกันไม่มากนักส่วนมากนิยมสานหมวก งอบ หรือ กุบ และก่องข้าวเล็กๆ

[กลับหัวข้อหลัก]

ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดภูมินทร์ อ.เมือง จ.น่าน แสดงให้เห็นถึงการใช้ภาชนะจักสาน


ภาชนะจักสานประเภทกระบุง


น้ำทุ่ง หรือ น้ำถุ้ง ภาชนะสำหรับตักน้ำจากบ่อ


เครื่องจักสานภาคกลาง
          ภาค กลางมีพื้นที่กว้างขวางและอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ มีวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำเครื่องจักสานหลายชนิด และเครื่องจักสานภาคกลางส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับสภาพภูมิศาสตร์ท้องถิ่นและขนบ ประเพณีของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ เป็นอย่างดี
         
ลักษณะ ทางภูมิศาสตร์ของภาคกลางทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ ที่ดินส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตร จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเครื่องใช้จักสานหลายชนิด โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ท่าจีน และแม่กลอง ซึ่งเป็นที่โล่งประชาชนนิยมปลูกไม้ไผ่ไว้ตามบริเวณหมู่บ้านและตามหัวไร่ปลาย นา และนอกจากนี้ในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี ลงไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีภูเขาตะนาวศรีเป็นแนวเขาที่มีป่าไม้ไผ่อยู่เป็นจำนวนมาก จากลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคกลางมีการทำเครื่องจักสานอย่างแพร่หลาย  แต่ก็มีเครื่องจักสานส่วนที่ทำด้วยวัตถุดิบอย่างอื่นบ้าง ได้แก่ ใบลาน ใบตาล หวาย ผักตบชวา เป็นต้น
        
ลักษณะ ภูมิประเทศของภาคกลางดังกล่าวเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องจักสานในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ขนบประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อของท้องถิ่น ก็เป็นเครื่องกำหนดรูปแบบของเครื่องจักสานด้วย
          เครื่องจักสานภาคกลางส่วนมากทำจากไม้ไผ่มากกว่าวัสดุอื่น ซึ่งแบ่งออกตามหน้าที่ใช้สอยเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
        
เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นภาชนะ  ได้แก่กระบุง กระจาด กระทาย กระบา กระทอ กระพ้อม กระเชอ กระเช้า กระพอก ชะลอม ตะกร้อ ปุ้งกี๋ หลัว ตะกร้า เข่ง ฯลฯ
         
เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องตวง  ได้แก่กระชุ สัด กระบุง ฯลฯ
        
เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้ในครัวเรือน  ได้แก่พัด กระชอน ตะแกรง ฝาชี กระด้ง หวด ฯลฯ
        
เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องประกอบอาคารบ้านเรือน  ได้แก่ ฝาบ้าน พื้นบ้าน หลังคา ฯลฯ
       
 เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องจับดักสัตว์และขังสัตว์น้ำ  ได้แก่ ชนาง ลอบ สุ่ม ไซ กระบัง กระจู้ กระชัง ตะข้อง ตะแกรง จั่น ฯลฯ
         เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องใช้อื่นๆเช่น  เสื่อลำแพน  แผงรั้ว กรงนก สุ่มไก่ เป็นต้น
        นอกจากเครื่องจักสานไม้ไผ่ซึ่งเป็นเครื่องจักสานที่ทำกันแพร่หลายแล้ว ในภาคกลางยังมีเครื่องจักสานที่ทำจากวัสดุอื่นๆ อีก ได้แก่ หวาย ใบลาน ใบตาล เป็นต้น
        เครื่องจักสานหวายของภาคกลาง ได้แก่ตะกร้าหิ้ว กระชุกสำหรับใส่หมู  เป็นต้น
        เครื่องจักสานใบลานและใบตาลของภาคกลาง ได้แก่ ปลาตะเพียนสาน งอบ หมวก เครื่องเล่นเด็กต่างๆ เป็นต้น
        อย่างไรก็ตาม นอกจากเครื่องจักสานภาคกลางที่ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นแล้ว เครื่องจักสานพื้นบ้านภาคกลางยังมีรูปแบบเฉพาะถิ่นที่แตกต่างไปจากเครื่อง จักสานภาคอื่นอีกหลายอย่าง
เช่น เครื่องจักสานที่ใช้จับดักสัตว์น้ำ ที่มีรูปร่างตามสภาพภูมิประเทศ เช่น เครื่องจักสานที่ใช้ในแม่น้ำ จะมีขนาดสูงใหญ่อย่างกระชังเลี้ยงปลาตามแม่น้ำ มีขนาดใหญ่ สานด้วยไม้ไผ่กว้างประมาณ ๑-๒ วา ยาวประมาณ ๒-๓ วา สานเป็นสี่เหลี่ยมหรือรูปไข่ มีฝาหรือไม่มีฝาก็ได้  ใช้ลอยในแม่น้ำลำคลอง โดยมีแพไม้ไผ่หรือลูกบวบไม้ไผ่เป็นทุ่นขนาบไม่ให้กระชังจม กระชังชนิดนี้ใช้เลี้ยงปลาจำพวกปลาสวาย ปลาเทโพ และปลาบู่ เป็นต้น ถ้าเป็นกระชังขนาดเล็กกว่านี้จะใช้ขังปลาที่จับได้เอาไว้ขายหรือบริโภคนานๆ นอกจากกระชังแล้วยังมีเครื่องจักสานจำพวก ลอบ ไซ ที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง มักมีขนาดสูงใหญ่ตามความลึกความตื้นของแม่น้ำลำ คลองที่ใช้เครื่องดักจับ สัตว์น้ำนั้นๆ เช่น ลอบยืน ขนาดใหญ่ใช้สำหรับดักปลาตามริมแม่น้ำลำคลองมักจะสูงมาก ถ้าเป็นไซ อีจู้ สำหรับดักกุ้งตามลำคลองและทุ่งนา จะมีขนาดเล็กกว่า
        
นอกเหนือจากเครื่องมือที่ใช้ในการจับและดัก สัตว์น้ำแล้ว ยังมีเครื่องจักสานที่ใช้ในครัวเรือนอีกหลายชนิด และแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปตามประโยชน์ใช้สอย เช่นตะกร้าหิ้ว ที่ใช้กันในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรีพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง จะมีรูปร่างกลมรีหรือกลม ปากกว้าง ก้นสอบ ขอบจะถักด้วยวายเป็นลายสันปลาช่อน ด้านบนมีหูหิ้วทำด้วยหวายหรือไม้ไผ่ และถักหุ้มด้วยหวาย ก้นตะกร้ามักเข้าขอบด้วยหวายและมีฐานไม้ไผ่รองรับเพื่อความคงทน ส่วนตัวตะกร้าจะสานด้วยตอกไม้ไผ่เป็นลายเฉลว รูปแบบของตะกร้าหิ้วภาคกลางนี้มีความงดงามที่เหมาะเจาะลงตัว นับได้ว่าเป็นเครื่องจักสานที่ประณีตงดงามอย่างหนึ่ง
        
ตะกร้าหิ้วภาคกลาง  มีรูปร่างและขนาดตลอดจนลวดลายในการสานแตกต่างกันไปบ้างตามความนิยมของท้อง ถิ่น และประโยชน์ใช้สอยเช่น ตะกร้าหิ้ว บริเวณจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี สุพรรณบุรี นั้นนิยมใช้ตะกร้าหิ้วรูปไข่ มีหูหิ้วข้างบน ใช้ประโยชน์หลายอย่างเช่น ใช้เป็นตะกร้าหมากหรือเชี่ยนหมากของคนชรา ใช้ใส่อาหารไปทำบุญที่วัด ใช้เป็นตะกร้าสำหรับใส่ของติดตัวเดินทางไปตามที่ต่างๆ จึงมักจะสานอย่างประณีตงดงามเป็นพิเศษ แต่ถ้าเป็นตะกร้าผลไม้ของชาวสวนแถบจังหวัดนนทบุรีฉะเชิงเทรา จะมีลักษณะแข็งแรงและสานหยาบๆแสดงให้เห็นว่ารูปแบบของเครื่องจักสานส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ ส่วนความประณีตงดงามจะเป็นสิ่งรองลงไป
        
เครื่อง จักสานภาคกลางที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ งอบ ซึ่งเป็นเครื่องสวมศีรษะที่ชาวบ้านใส่ออกไปทำงานกลางทุ่ง ตามท้องไร่ท้องนางอบเป็นเครื่องจักสานประเภทเครื่องสวมศีรษะที่มีรูปแบบและ ประโยชน์ที่ใช้สอยสมบูรณ์อย่างหนึ่งดังที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้มีลายพระหัตถ์ไปทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๘๐ ในหนังสือสาส์นสมเด็จว่า "ครั้งไปเที่ยวขุดอ้ายพังๆ ที่กรุงเก่าเพื่อดูอะไรเล่น เกล้ากระหม่อมไปเป็นลม พิจารณาหาเหตุก็เห็นว่าคงเป็นเพราะด้วยใส่หมวกสักหลาดมันเป็นหมวกสำหรับ เมืองหนาวโดยปราศจากให้ไอร้อนที่ออกจากหัวขังอยู่อบหัวให้มีความสุข เอามาใช้เมืองเราผิดประเทศจึงทำเจ็บสังเกตเห็นแม่ค้าชาวเรือเขาใส่งอบเที่ยว ไปกลางแดดวันยังค่ำ ดูเขายิ้มแย้มแจ่มใสดีนึกดูเห็นเหตุว่าเพราะงอบไม่ได้ครอบคลุมหุ้มศีรษะมีลม พัดผ่านรังงอบไปได้ จึงซื้องอบไว้ใส่ไปเที่ยว ตั้งแต่นั้นก็ไม่เป็นลมอีกเลย..." จากลายพระหัตถ์นี้แสดงให้เห็นว่า งอบเป็นเครื่องจักสานที่มีประโยชน์ใช้สอยสมบูรณ์อย่างยิ่งชนิดหนึ่งของไทย ยังมีทำกันมากที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
         
เครื่องจักสานภาคกลางที่ควรกล่าวถึงอีกชนิดหนึ่งคือ กระบุง ซึ่งมีลักษณะการใช้เช่นเดียวกันกับบุงหรือเปี้ยดของภาคเหนือ แต่กระบุงภาคกลางจะมีรูปแบบบางอย่างที่แตกต่างกันไปจากกระบุงภาคเหนือคือ ก้นจะสานเป็นเหลี่ยมขึ้นมาสูงประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงของกระบุงและมักมี หวายหรือไม้ไผ่เข้าขอบประกบมุมทำให้กระบุงภาคกลางมีลักษณะเป็นเหลี่ยม มากกว่าและส่วนมากกระบุงภาคกลางมีขนาดใหญ่ ทั้งนี้อาจจะมีเหตุมาจากสภาพพื้นที่ของภาคกลางซึ่งเป็นที่ราบ จึงสามารถหาบกระบุงที่มีน้ำหนักมากได้และเหตุที่กระบุงภาคกลางมีส่วนก้นเป็น เหลี่ยมมาก
ก็คงเพื่อ ประโยชน์ในการตั้งในที่ราบได้ดีนั่นเองกระบุงภาคกลางใช้ใส่ข้าวของหาบไปตาม ท้องไร่ท้องนาได้สารพัด เช่น ใส่เมล็ดข้าว ถั่ว งา จนถึง สิ่งของอื่นๆ ที่ต้องใช้ใส่ในภาชนะที่ผิวทึบตันแต่ถ้าเป็นพวกสิ่งของหรือพืชผลที่มีขนาด ใหญ่เช่น ผลแตงโม แตงไทย แตงกวา หรือมะพร้าวมักใส่เข่ง หรือ หลัว ซึ่งเป็นภาชนะจักสานสำหรับบรรจุของใหญ่ที่สานให้อากาศผ่านได้และเป็นภาชนะ จักสานของภาคกลางอีกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่สีสุกและไม้รวก มีทำกันมากในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ใช้ใส่พืชผักและผลไม้บรรทุกรถยนต์ไปขายตามที่ต่างๆ เครื่องจักสานอีกชนิด หนึ่งที่ถือได้ว่าเป็น
           
เครื่องจักสานที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นของภาคกลางคือปลาตะเพียนสาน สำหรับแขวนไว้เหนือเปลเด็กสานด้วยใบลานหรือใบตาล สานเป็นรูปปลาตะเพียนตัวใหญ่ตัวหนึ่ง มีลูกปลาตัวเล็กๆ ห้อยเป็นพวงอยู่ข้างล่าง รูปร่างลักษณะของปลาตะเพียนเลียนแบบมาจากปลาตะเพียนจริงๆ นอกจากนี้ยังมีเครื่องเล่นเด็กที่สานขึ้นจากใบไม้จำพวกใบลาน ใบตาล อีกหลายอย่าง ได้แก่ สานเป็นกำไลข้อมือ หมวก ตั๊กแตน และกุ้ง เป็นต้น          ปลาตะ เพียนสานเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งของชาวชนบทที่มีมาแต่โบราณ การแขวนปลาตะเพียนสานไว้เหนือเปล จะต้องแขวนให้พอดีกับระดับที่เด็กมองเห็นได้ตรงๆ ไม่ค่อนไปทางหัวนอน หรือค่อนไปทางปลายเท้า จะทำให้เด็กตาไม่ปกติได้หากเด็กมองปลาตะเพียนสานเป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ คนโบราณยังเชื่อว่าถ้าแขวนปลาตะเพียนไปทางหัวนอนมากจะทำให้เด็กตาช้อนขึ้น เพราะถูกแม่ซื้อมากวน ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งของคนไทยในอดีต และแม้ในปัจจุบันนี้ชาวชนบทก็ยังนิยมเลี้ยงเด็กให้นอนในเปลไม้ไผ่ที่แกว่ง ไกวได้อยู่ แต่การใช้ปลาตะเพียนใบลานแขวนดูจะลดน้อยไปมาก การทำปลาตะเพียนสานในปัจจุบัน  มีทำที่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ใช้แขวนไว้ดูเล่นเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านมากกว่าใช้แขวนเหนือเปลเด็ก และปลาตะเพียนสานในปัจจุบัน นิยมตกแต่งระบายสีให้มีสีสันสวยงามสะดุดตามากกว่าที่จะเป็นสีของใบลานหรือใบ ตาลแท้ๆ ซึ่งเป็นการประยุกต์รูปแบบให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค
        
อย่าง ไรก็ตาม เครื่องจักสานภาคกลางชนิดต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นว่ามีรูปแบบและลักษณะเฉพาะถิ่นที่ต่างไปจากเครื่องจักสานภาคอื่นๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากองค์ประกอบแวดล้อมทางสภาพภูมิศาสตร์ ประโยชน์ใช้สอย ขนบประเพณีและความเชื่อของท้องถิ่น ปัจจุบันเครื่องจักสานยังเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาว ชนบทจำนวนมาก แต่เครื่องจักสานจำนวนไม่น้อยได้รับการประยุกต์รูปแบบให้เหมาะสมกับความ เปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่ก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่น่าสนใจหลายอย่าง


[กลับหัวข้อหลัก]

ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวชนบท


ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวชนบท


กะเหล็บ ภาชนะจักสานของชาวไทยเชื้อสายโซ่ง


วิถีชีวิตของคนไทยผูกพันกับเครื่องจักสานมาช้านาน


ปลาตะเพียนใบลาน เครื่องจักสานโบราณประเภทหนึ่งของไทย
เครื่องจักสานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานเป็นภาคที่มีพื้นที่กว้าง ใหญ่ครอบคลุมหลายจังหวัดได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี หนองบัวลำพู มุกดาหาร ภาคอีสานเป็นดินแดนที่แยกจากที่ราบภาคกลาง โดยมีภูเขาที่ยกขึ้นมาประดุจขอบของที่ราบสูงหันด้านชันไปทางภาคกลาง ด้านใต้มีด้านชันทางที่ราบต่ำเขมร ที่ราบสูงอีสานจะลาดเอียงไปทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงทำให้แม่ น้ำสายสำคัญๆ ของภาคนี้ไหลจากตะวันตกไปยังตะวันออกไปรวมกับแม่น้ำโขง
          นอกจากประชากรในภาคอีสานจะมีความหลากหลายของลักษณะทางชาติพันธุ์แล้ว ยังมีวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวเช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ในภาคเหนือ แม้ว่าคนอีสานจะบริโภคข้าวเหนียวเหมือนกับคนภาคเหนือก็ตามแต่เครื่องจักสาน ที่เกี่ยวเนื่องด้วยการบริโภคข้าวเหนียวของภาคอีสานมีลักษณะเฉพาะตนที่ต่าง ไปจากของภาคเหนือ ถึงแม้จะใช้ประโยชน์ในการใส่ข้าวเหนียวเช่นเดียวกันก็ตาม
          เครื่องจักสานภาคอีสานที่เกี่ยวเนื่องด้วยวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวที่สำคัญ คือ ก่องข้าว และกระติบ
          ก่องข้าวและกระติบของชาวอีสาน ในบริเวณอีสานกลางและอีสานใต้มีรูปแบบเฉพาะตนที่ต่างกัน โดยมีรูปแบบและวิธีการสานที่เป็นของตนเองตามความนิยมของท้องถิ่นที่สืบทอด กันมาแต่โบราณ  ก่องข้าวที่ใช้กันในบริเวณอีสานกลาง  โดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคามร้อยเอ็ด ขอนแก่น นั้นมีลักษณะและรูปแบบต่างไปจากกระติบข้าวที่สานด้วยไม้ไผ่ของถิ่นอื่นๆก่อง ข้าวชนิดนี้คล้ายกับก่องข้าวภาคเหนือ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน ฐาน ทำด้วยไม้ตามแต่จะหาได้ เป็นแผ่นไม้กากบาทไหว้กันเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับตั้ง บางทีก็แกะเป็นลวดลายเพื่อความสวยงามไปด้วย ตัวก่องข้าว สานด้วยไม้ไผ่ซ้อนกัน ๒ ชั้น เป็นรูปคล้ายโถ โดยมี ฝา รูปร่างเหมือนฝาชีครอบอีกชั้นหนึ่ง ขอบฝาจะใช้ก้านตาลเหลาเป็นแผ่นบางๆ โค้งทำขอบฝาเพื่อความคงทน การสานก่องข้าวชนิดนี้จะต้องสานตัวก่องข้าวซ้อนกัน ๒ ชั้น เพื่อให้เก็บความร้อนได้ดีโดย ที่จะสานโครงชั้นในก่อนด้วยลายสองที่ก้นเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม เพื่อให้เกิดมุมสี่มุมสำหรับผูกกับไม้กากบาทที่เป็นฐานได้สะดวก เสร็จแล้วจึงสานส่วนต่อขึ้นมาเป็นตัวก่องข้าวด้วยลายขัด(ภาษาถิ่นเรียก "ลายกราว")  โดยใช้ตอกตะแคงเส้นเล็กๆ จนได้ขนาดตามต้องการ แล้วจึงสานตัวก่องข้าวด้านนอกครอบอีกชั้นหนึ่งด้วยตอกปื้นเป็นลายสองยืน หรือลายสองเวียน เพื่อให้เกิดความสวยงาม ตัวก่องข้าวที่สานหุ้มนี้จะต้องสานให้ใหญ่กว่าตัวแบบภายใน แล้วพับปากก่องข้าวหุ้มกลับเข้าไปภายในเพื่อความเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่งโดย ใช้เส้นหวายผูกคาดไว้ภายนอกเพื่อรับขอบของฝาไปในตัว เมื่อได้ตัวก่องข้าวแล้วจึงทำฐานให้ผายออกรับกับรูปทรงของก่องข้าวด้วย ไม้ฐานนี้จะผูกติดกับส่วนก้นสี่มุมด้วยหวาย เมื่อได้ตัวก่องข้าวพร้อมฐานแล้วจึงสานฝา ซึ่งมักจะสานด้วยตอกปื้นค่อนข้างใหญ่เป็นลายต่างๆ แล้วแต่จะเรียกโดยสานเป็นรูปคล้ายฝาชี  เมื่อได้ส่วนประกอบที่สำคัญพร้อมแล้วจะต้องทำหูสำหรับร้อยเชือกเพื่อใช้ สะพายบ่าหรือใช้แขวน จากรูปทรงและวิธีการของก่องข้าวแบบนี้จะเห็นว่าเป็นการสร้างรูปแบบของ เครื่องใช้ให้สนองประโยชน์ใช้สอยได้ดีนั่นเองก่องข้าวชนิดนี้มีความสมบูรณ์ ทั้งรูปทรงที่สวยงามและใช้ประโยชน์ได้ดีด้วย
         
ภาชนะ จักสานสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่งอีกแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันในอีสานเหนือ คือ "กระติบ"ซึ่งสานด้วยไม้ไผ่เช่นเดียวกัน แต่รูปแบบและวิธีการสานแตกต่างออกไป กระติบมีรูปร่างทรงกระบอกคล้ายกระป๋องไม่มีขา มีเพียงส่วนตัวกระติบและส่วนฝาเท่านั้น วิธีการสานจะสานด้วยตอกไม้เฮี้ยะซึ่งเป็นตอกอ่อนๆ โดยจะสานเป็นรูปทรงกระบอกให้มีความยาวเป็นสองเท่าของความสูงของตัวกระติบที่ ต้องการ เสร็จแล้วต้องพับทบกลับส่วนหนึ่งไว้เป็นด้านในตัวกระติบ ก่องข้าวชนิดนี้จะสานลายด้านในและด้านนอกต่างกันคือส่วนที่จะพับทบกลับไว้ ด้านในนั้นจะสานด้วยลายอำเวียน ส่วนด้านนอกที่ต้องการความสวยงาม จะสานด้วยลายสองยืน หรือยกดอกเพื่อความสวยงาม ส่วนก้นจะต้องสานเป็นแผ่นกลมๆ ต่างหากแต่นำมาผนึกติดกับตัวกระติบภายหลัง ส่วนฝากระติบก็จะทำเช่นเดียวกับตัวกระติบ กระติบชนิดนี้บางครั้งอาจจะใช้ก้านตาลขดเป็นวงทำเป็นส่วนฐาน เพื่อความคงทนด้วย
        
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างก่องข้างและกระติบ เกิดจากความนิยมของท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นที่ทำสืบทอดต่อๆ กันมาแต่บรรพบุรุษปัจจุบัน ก่องข้าวและกระติบยังคงรักษารูปทรงและลักษณะเฉพาะถิ่นของตนไว้ได้  เพราะผู้สานแต่ละถิ่นมักมีความถนัดและเคยชินในการทำตามแบบอย่างของตนมากกว่า ที่จะเลียนแบบก่องข้าวถิ่นอื่น แม้ปัจจุบันเครื่องจักสานพื้นบ้านอีสานจะมีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น เพิ่มสีสันหรือนำวัสดุสมัยใหม่ เช่น พลาสติก เข้ามาประยุกต์ใช้ประกอบกับเครื่องจักสาน ซึ่งเป็นไปตามสมัยนิยมมากกว่าความต้องการที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบดั้งเดิมของตน แต่ในที่สุดก่องข้าวไม้ไผ่ก็ยังเป็นที่นิยมของชาวบ้านมากกว่าภาชนะชนิดอื่น
         เครื่อง จักสานพื้นบ้านที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ "ตะกร้า" หรือที่ภาษาถิ่นเรียก "กะต้า"หรือ "กะต่า" ซึ่งเป็นภาชนะจักสานที่ใช้กันแพร่หลายในภาคอีสาน
        
ตะกร้า หรือ กะต้าสาน  มีประโยชน์ในการใช้สอยเช่นเดียวกับตะกร้าภาคกลางหรือซ้าภาคเหนือ เป็นภาชนะที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในภาคอีสานเพราะใช้ใส่ของได้สารพัดและใช้ ได้ทั้งการหิ้ว หาบ และคอนด้วยไม้คาน รูปทรงของตะกร้าหรือกะต้าต่างไปจากตะกร้าภาคอื่น กะต้าสานด้วย ไม้ไผ่ เริ่มสานก้นก่อนด้วยลายขัด (ลายขัดบี)ตอกคู่ แล้วค่อยๆ สานต่อขึ้นมาด้านข้างของตะกร้าด้วยลายธรรมดาเรื่อยไปจนถึงปากของตะกร้าซึ่ง จะใช้ตอกเส้นเล็กเพื่อความแข็งแรงทนทานปากหรือขอบตะกร้าจะใช้วิธีเก็บนิมโดย สานซ่อนตอกเข้าในตัวตะกร้า  เสร็จแล้วจะทำหูตะกร้าเพื่อใช้หิ้วหรือหาบ  โดยมากจะใช้ไม้ไผ่อีกชิ้นหนึ่งโค้งเหนือปากตะกร้า แล้วผูกปลายทั้งสองเข้ากับขอบตะกร้า ตะกร้าภาคอีสานจะมีรูปทรงคล้ายๆกันเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีขนาดเล็กและใหญ่ต่างกันเท่านั้น ตะกร้าชนิดนี้จะใช้ได้ทั้งแบบเป็นคู่และใช้หิ้วเพียงใบเดียว ตั้งแต่ใช้ใส่ผัก ผลไม้ถ่าน และสิ่งของอื่นๆ ไปจนถึงใช้เป็นเชี่ยนหมากสำหรับใส่หมาก เรียกว่า "คุหมาก" หรือบางครั้งใช้ชันยาทำเป็นครุหรือคุสำหรับตักน้ำก็ได้ ชาวอีสานนิยมใช้กะต้ากันทั่วไปเพราะมีน้ำหนักเบาทำได้ง่าย ราคาถูกกว่าภาชนะชนิดอื่น
         อย่างไรก็ตาม ตะกร้าสานของอีสานถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องจักสานที่มีรูปทรงและลวดลายในการ สานง่ายๆ ไม่ละเอียดประณีต แต่เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนที่ใช้กันแพร่หลาย เป็นเครื่องจักสานที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นชนิดหนึ่งของอีสาน จะพบเห็นชาวอีสานหิ้วตะกร้าหรือหาบตะกร้านี้ทั่วไป
          นอกจากตะกร้าหรือกะต้าที่ใช้กันแพร่หลายในภาคอีสานหรือถือได้ว่าเป็น เอกลักษณ์ของเครื่องจักสานอีสานดังกล่าวแล้ว ในภาคอีสานยังมีเครื่องจักสานที่น่าสนใจอีกหลายอย่างแต่ส่วนมากจะเป็น เครื่องจักสานไม้ไผ่มากกว่าอย่างอื่น และเครื่องจักสานที่ใช้กันมากในชีวิตประจำวันก็เป็นพวกภาชนะต่างๆ เช่น กระบุง ตะกร้า กระจาด เปลเด็ก เครื่องจักสานที่จำเป็นต่อชีวิตอีกอย่างหนึ่งคือเครื่องมือจับและดักสัตว์ น้ำเช่น ไซ ข้อง ตุ้มดักกบ ซ่อน ปุ่มขังปลา ฯลฯ นอกจากนี้มีเครื่องจักสานที่เกี่ยวเนื่องกับการเลี้ยงไหมและการทอผ้า เช่น กะเพียดปั่นฝ้าย กระด้ง เลี้
ยง ไหม จ่อเลี้ยงไหม เครื่องจักสานที่เกี่ยวเนื่องกับขนบประเพณีของชาวอีสาน ได้แก่ เบ็งหมากสำหรับใส่ดอกไม้และเครื่องบูชาต่างๆ และก่องข้าวขวัญสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง เป็นต้น

[กลับหัวข้อหลัก]

ภาชนะสานด้วยหวายและไม้ไผ่


กะต่างวง หรือตะกร้าหิ้วของชาวอีสาน


กระติบ สำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง

เครื่องจักสานภาคใต้
          การทำ เครื่องจักสานพื้นบ้านในแต่ละภาคของไทยมีปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบ กำหนดรูปแบบของเครื่องจักสาน โดยเฉพาะสภาพทางภูมิศาสตร์และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์ประกอบ สำคัญในการสร้างเครื่องจักสานพื้นบ้านภาคต่างๆ เครื่องจักสานพื้นบ้านของภาคใต้ก็เช่นเดียวกัน ลักษณะภูมิศาสตร์ของภาคใต้ที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ ส่งผลถึงการประกอบอาชีพและการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทเครื่องจักสานด้วย
          
ภาคใต้เป็นแหล่งที่มีวัตถุดิบที่นำมาใช้ใน    การทำเครื่องจักสานได้หลายชนิด เช่น ไม้ไผ่ หวาย กระจูด และ ย่านลิเภา บริเวณชายฝั่งตะวันออกของ ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปเป็นแหล่งสำคัญของการผลิตเครื่อง จักสานของภาคใต้ มีเครื่องจักสานหลายอย่างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่ต่างไปจากเครื่องจักสาน อื่นๆ เช่นเครื่องจักสานย่านลิเภาที่ทำกันมากในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องจักสานกระจูดทำกันมากในหลายท้องถิ่นในเขตจังหวัดพัทลุง สงขลา และปัตตานี นอกจากนี้ก็มีเครื่องจักสานไม้ไผ่ที่ทำกันทั่วไปแทบทุกจังหวัด
         
เครื่อง จักสานพื้นบ้านของภาคใต้โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกที่มีลักษณะ พิเศษเฉพาะถิ่นที่น่าสนใจมีหลายชนิดแต่มีเครื่องจักสานชนิดหนึ่งที่สร้างตาม ความต้องการในการใช้สอยตามสังคมเกษตรกรรมของชาวใต้ ที่มีความสวยงาม มีลวดลายที่ประณีตและเอื้ออำนวยต่อประโยชน์ใช้สอยเป็นอย่างดีทั้งยัง สัมพันธ์กับความเชื่อถือของชาวใต้อย่างน่าสนใจยิ่ง คือ กระด้ง ซึ่งชาวใต้เรียกว่า "ด้ง"
          
กระด้ง หรือ ด้ง  ที่นิยมใช้กันอยู่ในภาคใต้มี ๒ อย่าง คือ กระด้งฝัดข้าว และกระด้งมอนกระด้งทั้งสองชนิดนี้สานด้วยไม้ไผ่และหวายสำหรับใช้งาน เกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำไร่ทำนา กระด้งปักษ์ใต้ทั้งสองชนิดเป็นกระด้งที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างไปจากกระด้งภาค อื่นอย่างเห็นได้ชัด  ทั้งด้านรูปแบบและลวดลาย
        
ด้าน รูปแบบของกระด้งฝัดภาคใต้ต่างไปจากกระด้งทั่วๆ ไป คือ จะมีรูปกลมรีคล้ายรูปหัวใจ ส่วนป้านจะกลมมน ส่วนแหลมจะรีเล็กน้อยและการทำกระด้งให้มีลักษณะรีแทนที่จะกลมก็เพื่อความ สะดวกในการร่อน ฝัด และเทข้าวออกแสดงให้เห็นการสร้างรูปแบบที่สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยอย่าง แยบยล
        
กระด้งฝัดข้าวของภาคใต้มี ๒ ชนิดคือ"กระด้งลายขอ" และ กระด้งบองหยอง"
         กระด้งลายขอ  เป็นกระด้งฝัดข้าวที่มีรูปแบบและลายสานที่ถือว่าเป็นเครื่องจักสานชั้น เยี่ยมที่ออกแบบรูปร่างและลวดลายประณีตประสานกับการใช้สอยได้เป็นอย่างดี และมีคุณค่าท
างความงามด้วย  กระด้งลายขอนิยมสานด้วยตอกไม้ไผ่สีสุก เพราะเป็นไม้ไผ่ที่มีเนื้อแข็งและเหนียว กระด้งลายขอมีลักษณะพิเศษอยู่ที่ตอกซึ่งจะปล่อยข้อปล้องไม้ไผ่ด้านที่เป็น ผิวไว้ โดยไม่ได้ตัดออก ตอกด้านนี้จึงมีลักษณะเป็นขออยู่ตามปล้อง ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกว่า "กระด้งลายขอ" ตอกที่จะเว้นข้อไว้เป็นขอนี้เส้นหนึ่งจะมีข้อเหลือไว้เพียงข้อเดียว เวลาสานผู้สานจะต้องสานวางจังหวะของตอกพิเศษที่มีข้อเหลือไว้แต่ละเส้นให้ อยู่กึ่งกลางของกระด้งและเรียงสลับฟันปลาการเหลือข้อไว้บนตอกเพื่อให้เกิด เป็นลายขอบนกึ่งกลางกระด้งนี้ มิได้ทำขึ้นเพื่อความสวยงามแต่อย่างเดียว หากแต่ต้องการให้เกิดประโยชน์ในการฝัดข้าวได้ดีด้วย กระด้งลายขอนี้จะใช้ฝัดข้าวเปลือกที่ผ่านการซ้อมด้วยมือ หรือสีด้วยเครื่องสีข้าวพื้นบ้านมาแล้ว แต่ยังมีเปลือกข้าวที่เรียกว่า
ขี้ลีบและกาก ปะปนอยู่ จะต้องนำมาฝัดด้วยกระด้งลายขอ ลายขอที่เกิดจากการเว้นข้อไว้บนผิวไม้ไผ่ตามธรรมชาตินี้จะช่วยให้กากข้าวขี้ ลีบและสิ่งที่ไม่ต้องการสะดุดกับขอของตอกที่พื้นกระด้งลอยตัวขึ้นบน ผิวกระด้ง และจะรวมกันอยู่ตามร่องระหว่างขอตรงกลางกระด้ง จึงฝัดหรือเก็บออกได้ง่าย
        
นอกเหนือไปจากรูปแบบและโครงสร้างของกระด้งลายขอที่มีลักษณะเฉพาะที่สนองความต้องการในการใช้สอยได้ดีแล้ว ขั้นตอนและแบบอย่าง ของลวดลายในการสานกระด้งชนิดนี้ยังมีแบบอย่างที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นที่สืบต่อ กันมาแต่โบราณ ตั้งแต่หลักการสานที่คิดเป็นสูตรด้วยคำที่คล้องจองไว้ว่า "ยกสองข่มห้า เรียกว่า ลายบ้าเอย"ที่เรียกว่า "ลายบ้า" คงเป็นเพราะว่าการสานกระด้งชนิดนี้สานยากนั่นเอง ผู้สานจะต้องเป็นช่างฝีมือดี เมื่อสานเสร็จแล้วแนวทางของเส้นตอกจะต้องเป็นแนวมีระเบียบ และลายของปล้องข้อจะเรียงกันได้จังหวะงดงามอยู่ตามด้านหน้ากระด้งส่วนด้าน หลังจะเป็นแนวร่องตอกซึ่งเรียกว่า "ดี"กระด้งลายขอนี้ส่วนมากจะมีขนาดไม่ใหญ่นักและนิยมเรียกแนวดีแทนขนาด เช่น กระด้งขนาด๗ ดี หรือ ๙ ดี เป็นต้น กระด้งที่นิยมใช้กันเป็นกระด้งที่มีลายขอถี่หรือละเอียดมากกว่ากระด้งที่มี ลายขอห่างๆ กัน
         
กระด้งฝัดข้าวอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นกระด้งที่มีลักษณะเฉพาะของภาคใต้ คือ "กระด้งลายบองหยอง" กระด้งชนิดนี้สานง่ายกว่ากระด้งลายขอ การสานกระด้งลายบองหยองใช้ตอกไม้ไผ่เช่นเดียวกับกระด้งลายขอ  แต่ใช้ตอกเส้นใหญ่กว่าและไม่มีข้อปล้อง เป็นตอกเรียบๆ ธรรมดาผิวหน้ากระด้งจึงเป็นลายเรียบๆ กระด้งชนิดนี้ใช้ฝัดข้าวและเมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ เช่นเดียวกัน
        
นอก จากกระด้งทั้งสองชนิดดังกล่าวแล้วยังมีกระด้งอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "กระด้งมอน" คำว่า "มอน" เป็นภาษาปักษ์ใต้ หมายถึงกระด้งกลมขนาดใหญ่กว่ากระด้งฝัดข้าวเท่าหนึ่ง ใช้ตากพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ เพราะเป็นกระด้งขนาดใหญ่มีเนื้อที่มากกว่ากระด้งทั่วๆ ไป        
        
ลักษณะ ของกระด้งชนิดต่างๆ ดังกล่าวแล้วจะเห็นว่ากระด้งของภาคใต้เป็นเครื่องจักสานที่มีลักษณะเฉพาะ ถิ่นโดดเด่นชนิดหนึ่ง นอกจากนี้กระด้งของภาคใต้เกี่ยวเนื่องกับคติความเชื่อของชาวใต้ที่ยึดถือสืบ ต่อกันมาแต่โบราณด้วย เช่นห้ามนำกระด้งขึ้นไปบนยุ้งข้าว เพราะจะทำให้ขวัญข้าวหรือแม่โพสพหรือเทพธิดาแห่งข้าวไม่พอใจแล้วหนีไปไม่ คุ้มครองเป็นมิ่งขวัญ ทำให้การทำนาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ความเชื่อนี้แม้จะหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมแม่โพสพจึงไม่ชอบกระด้งแต่ก็เป็น ความเชื่อที่เชื่อถือสืบต่อกันมาแต่โบราณความเชื่อที่เกี่ยวกับกระด้งอีก อย่างหนึ่งคือ จะต้องเก็บรักษากระด้งไว้ให้ดี  ถือว่ากระด้งเป็นของสำคัญต้องเก็บไว้ในที่สูง เช่น ตามชายคา หรือเหนือเตาไฟในครัวเพื่อให้ควันไฟช่วยรักษาเนื้อไม้ไม่ให้มอดหรือแมลงกัดกิน และช่วยให้เส้นตอกแน่นมีสีดำอมแดงดูสวยงามอยู่เสมอ การที่ชาวบ้านเก็บรักษากระด้งไว้ในที่สูงไม่ให้เด็กนำไป เล่นนั้น อาจจะมาจากความเชื่อที่ว่า แม่โพสพเป็นผู้มีพระคุณให้ข้าวเลี้ยงชีวิตมนุษย์ จึงควรเก็บรักษากระด้งฝัดข้าวไว้ให้ดี การเก็บรักษากระด้งนี้นอกจากจะใช้ควันไฟจากการหุงหาอาหารช่วยเคลือบผิวแล้ว บางครั้งจะทำด้วยน้ำมันยางทาขี้ชันผสมรำข้าว ซึ่งจะช่วยให้ใช้ได้นาน
          
ถ้า พิจารณาจากความเชื่อนี้แล้ว จะเห็นว่าเป็นอุบายของคนโบราณที่จะรักษากระด้งไว้ให้คงทน ใช้งานได้นาน เพราะกระด้งสานยากจะต้องใช้ความละเอียดประณีตมาก การสานกระด้งลายขอและกระด้งชนิดอื่นๆ ของภาคใต้ยังมีสานกันอยู่บริเวณพื้นที่ราบที่มีการทำไร่ ทำนา ได้แก่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังมีช่างสานกระด้งลายขอฝีมือดีอยู่บ้างแต่ไม่มากนักเพราะการสานกระด้งลายขอ ต้องใช้ความพยายามและต้องมีความละเอียดประณีตใช้เวลามาก
         
อย่าง ไรก็ตาม กระด้งลายขอ กระด้งลายบองหยอง และกระด้งมอน ของภาคใต้ เป็นเครื่องจักสานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นชัดเจนอย่างหนึ่งของภาคใต้
          นอ
กเหนือ ไปจากสภาพทางภูมิศาสตร์สภาพการดำรงชีวิต ความเชื่อ ขนบประเพณีและศาสนา ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดการสร้างเครื่องจักสานแล้ว วัตถุดิบท้องถิ่นยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เครื่องจักสานมีเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่นที่ต่างไปจากภาคอื่นๆ ด้วย วัตถุดิบพื้นบ้านที่ใช้ทำเครื่องจักสานภาคใต้มีหลายชนิด เช่นไม้ไผ่ หวาย ย่านลิเภา กระจูด ใบลำเจียก เตย ใบตาล และคล้า เป็นต้น
         
เครื่องจักสานพื้นบ้านภาคใต้ยังมีอีกหลายชนิด หากแบ่งออกตามวัตถุดิบที่นำมาใช้สาน จะแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
        
เครื่องจักสานที่ทำด้วยหวาย และไม้ไผ่ มีหลายชนิด ตั้งแต่เครื่องมือดักและจับสัตว์น้ำ ไปจนถึงเครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ กระเชอ จงโคล่ โต๊ระ สีหล้า (หรือสี้ละ) เครื่องสีข้าวเซงเลง ข้อง โพง นาง ไซ นั่งได้ นอนได้ และข้องดักปลาไหล เป็นต้น
        
เครื่องจักสานที่ทำจากกระจูด ใบลำเจียกหรือปาหนัน เตย ใบตาล ซึ่งนำมาทำเครื่องจักสานประเภทภาชนะและเสื่อมีทำกันในหลายท้องถิ่น
        
นอก จากนี้ ยังมีเครื่องจักสานบางชนิดที่ทำด้วยวัตถุดิบที่มีอยู่เฉพาะบางท้องถิ่นเท่า นั้น ได้แก่เครื่องจักสานที่ทำจาก  ต้นคล้า ใบจาก กาบหลาวโอน ย่านลิเภา เป็นต้น
        
เครื่องจักสานชนิดต่างๆ ของภาคใต้ดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าบางชนิดเป็นเครื่องจักสานที่มีประโยชน์ในการใช้สอยเช่นเดียวกับ เครื่องจักสานภาคอื่น แต่มีรูปแบบ ลวดลาย และใช้วัตถุดิบที่แตกต่างไปจากเครื่องจักสานภาคอื่นๆ มีลักษณะเฉพาะถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
       
             (ขอขอบคุณข้อมูลจากสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชนเล่มที่ 22)






0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสินค้าผ้าบาติก

ตัวอย่างสินค้าผ้าบาติก
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตามความต้องการของลูกค้า ราคาเสื้อเริ่มต้น 350-บาท(ไม่รวมค่าส่ง)

product-amazon

ตัวอย่างตุ๊กตาชาววัง

ตัวอย่างตุ๊กตาชาววัง
ตุ๊กตามีหลายชุดอาทิ ชุดมวยไทย ชุดเณรน้อย ชุดดนตรีไทยเป็นต้น ราคาเริ่มต้นที่ 120.- บาท,

youtube

object width="325" height="444">

Followers

Made to order

Made to order
แนะนำสินค้า ผ้าบาติก ติดต่อ 081-9152376 จารุณี

สินค้า handmade เป็นสินค้าที่กลุ่มแม่บ้านจากชุมชุนต่างๆของไทย ที่ได้ัจัดทำขึ้นจากความชำนาญ ที่ถูกถ่่ายทอด กันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่าเป็นการนำเอาวัสดุในธรรมชาติมาผลิต และนำมาพัฒนา ดัดแปลงให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่พร้อมทั้งนำเอาเทคนิคใหม่มาพัฒนาให้เป็นสินค้า handmade ของแต่ละชุมชนโดยในการพัฒนานี้บ้างก็ได้รับความสนับสนุนจากภาครัฐบาล โดยได้จัดให้มีการอบรมนำเอาความรู้ใหม่มาพัฒนาจนเป็นสินค้าที่นิยมและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน จนบางครั้งใช้คำเรียกว่่าสินค้าเหล่านั้นว่า OTOP สินค้าเหล่านี้มีทั้งที่เป็นของประเทืองผิวพรรณ เป็นของใช้ในครัวเรือนบ้าง เป็นของตกแต่งบ้านซึ่งมีทั้งที่ทำจากไม้ จากใบลาน ที่รวมเรียกว่าเครื่องจักสาน รวมทั้งสินค้าพวกแฟชั่นสำหรับวัยรุ่น หากท่านที่สนใจในผลิตภัณฑ์ ของชุมชนต่างสามารถสอบถามและติดต่อเสอบถามราคาหรือจะเป็นตัวแทนจำหน่ายได้ที่ 081-9152376 หรือที่ email: charuneec@hotmail.com