Sample Batic T-Shirt

สนใจผลิตภัณฑ์ ได้ที่
charuneec@hotmail.com or
tel: 0819152376


Interest
TEL: 081-9152376

Made to Order ; Retail & Wholesale


Mother-of-Pearl Inlay

Mother-of-pearl is used to adorn various objects. The items that were splendidly decorated by the Thai mother-of-pearl inlay process are called “Khr-uang Muk” by the Thais. Thais process requires plenty of time, artistic talent and skilled craftsmanship, therefore mother-of-pearl inlaid objects are recognized as highly-valued items. They are also the pride of many owners.
          The seashell popularly used in the mother-of-pearl work is called “Muk Fai”, flame snail, which is luminous. Apart from seashells, other major materials used in this painstaking process include black lacquer, Samuk, the ashes of burnt deer’s horns and fired clay powder.
         To begin the mother-of-pearl inlay process, the outer surface of each

Culture clay figure




This kind of art is a reflection of not only the intelligence but also the culture that Thais have created by forming clay in different forms of figures, i.e. people’s typical movement, people’s ways of living, or people’s playing activities in the old days.



From typical clay in the field to elegant figure in the eyes of the beholder



Historical evidence revealed that the culture clay figure, which was often in the form of human figure grabbing monkey’s hand, was originated in the 12th – 16th Buddhist centuries. This particular handmade art was further passed through Sukhothai, Ayudhaya and Rattanakosin era. The art style also reflected the people’s ways of living, belief, etc. in each era. The art of culture clay figure created by Thais living in the area of Bang sa dej, Angthong province was well maintained, as mentioned by the historic scholar.



During the reign of King Rama IV of Rattanakosin era, the culture clay figure was originated by one of the internal officer serving the royal palace, Mr. Gleeb (a millionaire Gleeb), forming the culture clay figure by copying the ways of living, belief, customs, costumes of people living in the royal palace. Those culture clay figures were bought for decoration and collection.



The popularity of this handicraft, once popular, was faded as time passed. In B.E. 2519 (1976 A.D.), Her Royal Majesty, Queen Sirikitt, however, revived the art of forming culture clay figure at Wat Tal Village, later changed to ‘Bang sa dej’, located at Pa Mok district, Angthong province. Under HRM Queen Sirikitt’s intention and support, the art of forming culture clay figure could be an additional job for those living in the community, after finishing the farming period.


ตุ๊กตาชาววังของไทยเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่คนไทยสร้างขึ้น ปั้นเป็นรูปเลียนแบบกิจกรรม การละเล่นของคนไทยสมัยโบราณ ที่มีความน่าสนใจและนำมาแต่งแต้มเติมสีเติมสรรให้ดูงดงามและสมจริงตุ๊กตาชาววังเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงความมีวัฒนธรรมของคนไทยบ่งบอกถึงภูมิปัญญาของคนไทย



กำเนิดตุ๊กตาชาววัง

จากก้อนดินเหนียวท้องนาสีขุ่นมัว ขุดขึ้นมาปั้นแต่งระบายสีให้เป็นตุ๊กตาที่มีใบหน้าคมงาม ท่วงท่าลีลาอ่อนช้อย สวมใส่เสื้อผ้าสวยปราณีตด้วยปลายพู่กัน บ่งบอกถึงคุณค่าแห่งศิลปวัฒนธรรมไทย หลากหลายเรื่องราวอันมีที่มาแต่โบราณกาล

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ตุ๊กตาดินเผาไทยที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในสมัยทวาราวดี รือในราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 มักจะเป็นรูปคนจูงลิง ทำด้วยดินเผาสีแดง ตัวคนเป็นชาย มุ่นมวยผมไว้กลางศีรษะ นุ่งผ้าผืนเดียว มีลิงตัวน้อยๆ ที่ปลายเท้า สันนิษฐานว่าตุ๊กตาชนิดนี้อาจจะใช้เป็นของเล่นสำหรับเด็ก หรือใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา

ต่อมาในสมัยสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ การสร้างสรรค์ตุ๊กตาดินเผาก็ยังปรากฏออกมาในรูปแบบต่างๆ กัน ตามลักษณะนิสัยของคนยุคนั้นๆ ตามคติความเชื่อ และตามประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน เป็นต้นว่าตุ๊กตาเสียกบาลซึ่งทำกันมาตั้งแต่ยุคสุโขทัยสร้างขึ้นตามความเชื่อถือเพื่อปัดเป่าอันตรายแก่คนเจ็บหรือหญิงคลอดบุตรในครัวเรือน ตุ๊กตาล้มลุก ปั้นขึ้นสำหรับเป็นของเล่นของเด็กตุ๊กตาเจ้าพราหมณ์ ยังคงมีให้เห็นอยู่ตามชนบท ทำเพื่อนำไปแก้บนตั้งบูชาศาลเทพารักษ์ตุ๊กตาเคลือบดินเผาสมัยสุโขทัย ซึ่งปั้นเป็นรูปคนในอิริยาบถต่างๆ มีนักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่าคล้ายตุ๊กตาชาววังที่ชาวบางเสด็จทำกันอยู่ปัจจุบัน หากเป็นเช่นนั้นจริงนับว่าการทำตุ๊กตาชาววังของคนบางเสด็จจังหวัดอ่างทองได้รักษาแบบแผนวัฒนธรรมไทยเอาไว้อย่างดียิ่ง

ตุ๊กตาชาววัง สุนทรียศาสตร์พื้นถิ่นนของชาวบ้านในยุคนี้ถือกำเนิดขึ้นในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานทางตัวอักษรปรากฏสืบต่อกันมาว่าเถ้าแก่กลีบ ข้าราชการฝ่ายในในพระราชสำนัก เป็นผู้ริเริ่มผลิตขึ้น โดยปั้นตุ๊กตาชาววังออกจำหน่ายให้แก่ข้าราชบริพารภายในพระบรมมหาราชวังดังนั้น ลักษณาการตุ๊กตาชาววังในสมัยก่อนจึงลอกเลียนแบบมาจากวิถีชีวิต การแต่งกาย วัฒนธรรม ประเพณีของชาววังทุกประการ สมคำเปรียบเปรยว่ายามจะนั่ง ก็ท้าวแขนอ่อนช้อย เหมือนตุ๊กตาชาววัง ซึ่งจะเน้นความพิเศษที่ขนาดเล็กจิ๋ว บางตัวมีหัวเท่าไม้ขีดไฟการปั้นแต่ละตัว ผู้ปั้นต้องใช้ความละเอียดละเมียดละไมอย่างมาก ชาววังสมัยก่อนนิยมซื้อสะสมเป็นของรักของชอบ หรือไว้สำหรับตกแต่งประดับประดาบ้านเรือน

หัตถศิลป์ตุ๊กตาชาววังที่เคยเฟื่องฟูกลับซบเซาลงในรัชสมัยรัชกาลที่ 5เมื่อข้าราชบริพารบางคนย้ายออกไปจากพระบรมมหาราชวัง แล้วได้นำเอาศาสตร์นี้ติดตัวออกไปด้วย จึงไม่มีใครรู้รักจักทำต่อ ศิลปะการปั้นตุ๊กตาชาววังจึงจางหายไปนาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดให้รื้อฟื้นการปั้นตุ๊กตาชาววัง

ย้อนไปในราวปีพุทธศักราช 2519 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโปรดให้รื้อฟื้นวิชาการปั้นตุ๊กตาชาววังขึ้นที่หมู่บ้านวัดตาล ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบางเสด็จ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอป่ามก จังหวัดอ่างทองพระองค์ท่านรับสั่งให้ชาวบ้านชาวนาในหมู่บ้านที่สนใจและต้องการมีอาชีพเสริม นอกเหนือจากการทำนา ใช้เวลาว่างมาเรียนรู้และฝึกฝนการทำตุ๊กตาชาววังจากครูในโครงการศิลปาชีพพิเศษ โดยขอใช้ศาลาการเปรียญของวัดท่าสุทธาวาส วัดเก่าแก่คู่บุญของจังหวัดอ่างทองเป็นสถานที่ฝีกหัด จึงถือว่าอาชีพการทำตุ๊กตาชาววังนับเป็นโครงการในพระบรมราชินูปถัมภ์ จากเอกสารคน-รูป-ดิน เครือซิเมนต์ไทยรักษ์ไทยจัดทำเพื่อสื่อมวลชนในการพาชมการประดิษฐ์ตุ๊กตาชาววังที่หมู่บ้านบางเสด็จ อาจารย์ฉวีวรรณ เมืองสุวรรณ อาจารย์ประจำโรงเรียนวัดท่าสุทธาวาส เขียนถึงเรื่องตุ๊กตาชาววังในช่วงที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถมีพระราชดำริส่งเสริมให้ราษฎรหารายได้ให้แก่ครอบครัวด้วยการปั้นตุ๊กตาชาววัง ไว้ตอนหนึ่งว่า

“ก่อนหน้านี้ธรรมชาติไม่เข้าข้างชาวไร่ชาวนาเอาเสียเลย ที่อ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงกิดฝนตกมากเกินความจำเป็นทำให้เกษตรกรอ่างทองได้ผลผลิตทางการเกษตรไม่ดีติดต่อกันหลายปี จนกระทั่งเมื่อปี 2519 สมเด็จพระราชินีท่านเสด็จฯทอดพระเนตรหมู่บ้านแถบอำเภอป่าโมก ซึ่งขณะนั้นมีการทำธูปเป็นอาชีพเสริมพระองค์ท่านจึงรับสั่งว่าชาวอ่างทองน่าจะทำงานฝีมือชนิดอื่นได้เช่นกัน เพราะการทำธูปก็ต้องใช้ฝีมือในการปั้นเหมือนกัน W

จากวันนั้นเป็นต้นมา ชื่อหมู่บ้านบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทองคือแหล่งผลิตตุ๊กตาชาววังที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงแพร่หลายขจรขจายไปไกลทั่วโลก

ตุ๊กตาชาววังของนางแฉ่ง สาครวาสี มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร

ตุ๊กตาชาววังมี 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่นิยมกันมากคือขนาดเล็กซึ่งสูงประมาณ 2 เซนติเมตร ขนาดใหญ่จะสูงประมาณ 4 เซนติเมตร ปั้ นเป็นผู้ใหญ่ วัยรุ่น และเด็กกำลังนั่งและคลาน ท่านั่งเอน นอนคว่ำ ตะแคง คุกเข่า ประมาณอย่างละ 8 ท่า ส่วนเด็ กเล็กนั้น มีที่ไว้ผมแกละ ผมจุก และผมเปีย ส่วนผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงนั้นมีลักษณะพิเศษคือแต่งกายอย่างชาวเหนือ ที่เป็นเช่นนี้ อาจจะเป็นเพราะว่าพระวรชายาเจ้าดารารัศมียังคงประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง

นอกจากตุ๊กตาเดี่ยวแล้ว ยังมีตุ๊กตาชุดตามเรื่องในวรรณคดี มีทั้งรามเกียรติ์ ละครนอกและละครใน การปั้นตุ๊กตาจะปั้นขาก่อน แล้วจึงขึ้นตัวส่วนตัวนั้นมีพิมพ์กดเอาไว้ เสร็จแล้วนำดินไปผึ่งให้แห้ง ต้องระวังไม่ให้ถูกแดดจัด เพราะถ้าถูกแดดจัด ดินจะร้าว เสร็จแ ล้วจึงนำไปเผาในเตาถ่านที่ใช้หุงต้มอาหารในครัวเชื้อเพลิงคือแกลบ เผาแล้วสุมไว้ตลอดคืน เพื่อให้ตุ๊กตาเย็นสนิท ต่อไปจึงนำตุ๊กตานั้นมาลงสีผิวโดยใช้ฝุ่นผัดหน้าที่เรียกว่าฝุ่นจีนมาละลายน้ำจนข้น แล้วจึงแต่งหน้า ทาปาก เขียนเสื้อผ้าใช้สีตามความนิยมของชาววัง โดย เฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าของผู้ใหญ่ ผู้หญิงจะต้องนุ่งห่มสีตัดกันตามวัน

ปัจจุบัน การทำตุ๊กตาดินเหนียวระบายสีของคนบางเสด็จเพียงไม่กี่สิบครัวเรือนยังคงนั่งประดิษฐ์กันอยู่ที่ใต้ถุนเรือน เริ่มจากวิธีการเตรียมดินขุดดินเหนียวคุณภาพดีแถบทุ่งนาหลังวัดสุทธาวาสหรือภายในตำบลบางเสด็จลึกประมาณ 2 เมตร นำมาตากแดดให้แห้ง ทุบเป็นก้อนเล็กๆ แช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืน เพื่อร่อนเอากรวดหินทรายออกโดยใช้ผ้ามุ้งกรอง หากบี้ดูแล้วดินเนียนติดนิ้วถือว่าใช้ได้ จากนั้นปั้นเป็นแผ่น ผึ่งลมให้ดินหมาดแล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ เก็บไว้ในถุงพลาสติกมัดปากถุงมิดชิดกันลม นำออกมาใช้เท่าที่ต้องการในแต่ละครั้งการปั้นตุ๊กตาชาววังยุคนี้ไม่ใช้เวลานานเหมือนสมัยโบราณเหตุเพราะว่ามีแม่พิมพ์ที่สร้างขึ้นจากปูนปลาสเตอร์ทั้งส่วนหัวและส่วนลำตัว

โดยเทดินเหนียวหล่อเข้ากับแม่พิมพ์ส่วนแขนและขานั้นปั้นได้ไม่ยากเพียงคลึงดินบนฝ่ามือให้มีลักษณะเรียวแหลมตอนปลายทั้งสองข้าง ขนาดคล้ายเส้นลอดช่อง โดยจะหักพับงออย่างใดก็ได้แล้วแต่ท่าทางตามต้องการ และนำไปต่อติดกับส่วนลำตัวหลังจากนั้นจึงนำส่วนหัวและลำตัวที่สมบูรณ์แล้วมาต่อติดกัน ตกแต่งนิ้วมือนิ้วเท้าอีกสักเล็กน้อยวางผึ่งลมให้ดินแห้งสนิทอีก 1 วัน และนำเข้าเตาเผา สมัยก่อนนิยมเผาด้วยเตาอั้งโล่ซึ่งมีกรรมวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนเสียเวลามาก แต่ปัจจุบัน เผาด้วยเตาอบขนาดใหญ่ที่มีอุณหภูมิคงที่ จะได้ผลที่ดีกว่ามากและเสียเวลาน้อยกว่าด้วย เมื่อเผาเสร็จแล้ว ตุ๊กตาเย็นลงทาสีน้ำมันให้ทั่วตัวเพื่อความเนียนสวยงาม พร้อมกับเติมลวดลาย สีสันใบหน้าการแต่งกายให้วิจิตรบรรจงดูมีชีวิตชีวาด้วยฝีมือและจินตนการของผู้ปั้นประดิษฐ์

ตุ๊กตาชาววังที่เราพบเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนมีหลากแบบหลายอิริยาบถ มีรายละเอียดเรื่องราวแวดล้อมมากขึ้นกว่าแค่ปั้นตัวคนเพียงอย่างเดียว ดังเช่นชุดตลาดน้ำที่แม่ค้าคนพายบรรทุกผลหมากรากไม้ไว้เต็มลำเรือ ชุดวงดนตรีไทยที่รู้จักกันว่าวงมโหรีปี่พาทย์ชุดการละเล่นพื้นบ้านไทย เหล่านี้เป็นต้น

ตุ๊กตาชาวหวังกับชีวิตคนไทย

จากวิวัฒนาการของการปั้นตุ๊กตาชาววังตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 4 มาเป็นตุ๊กตาที่สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในชนบท และคนหลากหลายอาชีพในสังคมไทย นี่คือเครื่องยืนยันฝีมือและความคิดสร้างสรรค์เชิงศิลปะอย่างง่ายๆ ของผู้คนชาวไร่ชาวนาซึ่งใคร่เรียกขานเขาเหล่านี้ว่าช่างพื้นบ้าน หรือศิลปชีวิต อันหมายถึง ผู้ทำการหาเลี้ยงชีพทางการช่างฝีมือดุจดัง คุณยายอารมณ์ ช่างปั้นตุ๊กตาชาววัง อายุราวๆ 70 ปีเศษ ที่ทำตุ๊กตาชาววังเพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมานานนับ 24 ปี คุณยายบอกว่าภูมิใจมากกับอาชีพที่ทำอยู่ เป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว ช่วยส่งบุตรทุกคนเรียนจนจบการศึกษา

โดยกลางวันจะปั้นตุ๊กตา กลางคืนก็ทำไม้ก้านธูปและจะทำอย่างนี้ต่อไปอีกเรื่อยๆ เพราะรักในอาชีพ น่าเสียดายที่หมูบ้านนี้มี 185 หลังคาเรือน ต่ปั้นตุ๊กตาชาววังขายเพียงแค่ 30 บ้านเท่านั้น ส่วนช่างปั้นตุ๊กตาชาววังอีกผู้หนึ่ง เป็นหญิงวัยกลางคน อายุ 47 ปี มีนามว่ารุจี วิจิตรานุรักษ์ เธอเริ่มฝึกหัดวิชาชีพนี้พร้อมๆ กับคุณยายอารมณ์ในครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชีนีนาถ โปรดให้จัดตั้งโครงการพิเศษสอนด้านการปั้นุ๊กตาชาววังแก่ชาวบ้านบางเสด็จ เธอเล่าว่า

การปั้นตุ๊กตาชาววัง เราต้องการความเรียบร้อย ความสวยงาม ไม่ว่าจะขายราคา 5 บาท หรือราคาเรือนหมื่นก็ต้องมีความปราณีตบรรจงเหมือนๆ กัน ยิ่งถ้าปั้นชุดใหญ รายละเอียดมาก เช่น ปั้นจากบางฉากในเรื่องราววรรณคดีไทย งานประเพณีไทยอย่างงานบวชนาค สะท้อนภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่างวิธีการคลอดบนกระดานไฟหรือการทำไร่ไถนา รูปแบบเหล่านี้ราคาจะสูงเพราะเราต้องใช้ความคิดมาก ถ้าไม่สามารถศึกษาจากภาพได้ ก็ต้องใช้จินตนาการบวกกับประสบการณ์ที่เคยเห็นมาด้วยตนเองแต่มีบางครั้งที่ลูกค้าสั่งมาเฉพาะเลยว่าต้องการรูปแบบใด ยกตัวอย่าง มีหน่วยราชการหนึ่งเขาสั่งให้เราปั้นเรื่องรัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินที่จังหวัดกำแพงเพชร เขาเอารูปภาพมาให้เราดูด้วย เราก็ต้องปั้นรายละเอียดต่างๆ ให้เหมือนรูปภาพนั้น เธอยังบอกอีกว่าในแต่ละปีต้องเปลี่ยนแบบ เปลี่ยนเรื่องราวไม่ให้ซ้ำ โชคดีที่เกิดมาทันเห็นวิถีความเป็นอยู่ ขนบวัฒนธรรมดั้งเดิม จึงพอจดจำได้และที่สำคัญต้องมีใจรักในงานศิลปะอย่างแท้จริง

ส่วนมากที่ยังทำกันอยู่จะมีอายุ 30-50 ปี เด็กรุ่นหลังอายุน้อยๆ มักไม่ค่อยสนใจ คือต้องอยู่ที่ใจรัก ถ้าใจไม่รักจะทำไม่ได้เลย เพราะมันมีหลายขั้นตอนที่กระจุกกระจิกมากอย่างที่ดิฉันทำมาทุกวันนี้ก็เพราะใจรักในงานอาชีพและเกิดจากแรงบันดาลใจที่พระราชินีท่านทรงส่งเสริมให้มีอาชีพนี้ขึ้นมา จดจำเสมอว่าเรามีอาชีพอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะพระองค์ท่าน ซึ่งรายได้เฉลี่ยต่อเดือนจากงานในอาชีพที่รักของคุณรุจี วิจิตรานุรักษ์ เธอกระซิบว่าตกประมาณ 7,000-10,000 บาท นับว่าเป็นตัวเลขที่ดีมิใช่น้อยสำหรับชาวบ้านยุคสมัยนี้

บทสรุปของเรื่อง อยากหยิบยกถ้อยความจากหนังสือ ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยผู้เขียนรองศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณกล่าวถึงงานหัตถกรรมช่างพื้นบ้านผ่านตัวหนังสือที่เรียบง่ายแต่น่าอ่าน

งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นผลผลิตของช่างฝีมือธรรมดาๆ มิใช่เกิดจากฝีมือของศิลปินชั้นเยี่ยมแต่อย่างใด คุณค่าทางศิลปะและคุณภาพของงานเกิดจากการทำเป็นจำนวนมากเป็นหลัก เพราะโดยทั่วไปช่างพื้นบ้านจะไม่แสดงออกถึงลักษณะเฉพาะตนและพลังในการสร้างสรรค์มากหมือนกับการสร้างงานศิลปกรรมของศิลปินด้านวิจิตรศิลป์ ทั้งนี้มิใช่เพราะ ช่างพื้นบ้านขาดคุณสมบัติดังกล่าว แต่เป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานที่ต่างกัน ลักษณะของการสร้างสรรค์และลักษณะเฉพาะของช่างพื้นบ้านจะปรากฏออกโดยผ่านประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จากชั่วคนหนึ่งไปสู่อีกชั่วคนหนึ่ง เป็นเวลานับร้อยปี สิ่งเหล่านี้จะประสานกับความเชื่อถือที่อยู่ในจิตใจของช่างพื้นบ้านแล้วแสดงออกมาในงานของเขา

อย่างไรก็ตาม ช่างพื้นบ้านฝีมือดีจำนวนไม่น้อยที่มีความสุขใจได้สร้างสรรค์งานที่ตนถนัดและมีความรักในงานของตนเป็นพื้นฐาน โดยมิได้คำนึงถึงค่าตอบแทนและชื่อเสียงแต่อย่างใด หากต่ต้องการให้งานของตนมีความสมบูรณ์และมีความสุขที่ได้แสดงฝีมือของตนอย่างดีที่สุดเท่าที่จะฝากไว้กับงานนั้นๆ น่ายกย่องว่าเขามิใช่คนธรรมดาสามัญที่สร้างงานเพียงเพื่อการใช้สอยธรรมดาเท่านั้น แต่เขาได้ฝากฝีมือ คุณค่าทางศิลปะ และความงามลงไปด้วย ดุจเดียวกับ ศิลปชีวิตตุ๊กตาชาววัง จากก้อนดินเหนียวท้องนาสีขุ่นมัว ขุดขึ้นมาปั้นแต่งระบายสีให้เป็นตุ๊กตาที่มีใบหน้าคมงาม ท่วงท่าลีลาอ่อนช้อย สวมใส่เสื้อผ้าสวยปราณีตด้วยปลายพู่กัน บ่งบอกถึงคุณค่าแห่งศิลปวัฒนธรรมไทย หลากหลายเรื่อราวอันมีที่มาแต่โบราณกาล



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 13

- เว็บไซต์นิตยสารสกุลไทย

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

Retrieved from "http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87



    
Batik (Javanese pronunciation: ) Indonesian pronunciation; is a cloth which traditionally uses a manual wax-resist dyeing technique. Due to modern advances in the textile industry, the term has been extended to include fabrics which incorporate traditional batik patterns even if they are not produced using the wax-resist dyeing techniques. Silk batik is especially popular.[citation needed]
Javanese traditional batik, especially from Yogyakarta and Surakarta, has special meanings rooted to the Javanese conceptualization of the universe. Traditional colours include indigo, dark brown, and white which represent the three major Hindu Gods (Brahmā, Visnu, and Śiva). This is related to the fact that natural dyes are only available in indigo and brown. Certain patterns can only be worn by nobility; traditionally, wider stripes or wavy lines of greater width indicated higher rank. Consequently, during Javanese ceremonies, one could determine the royal lineage of a person by the cloth he or she was wearing.

Other regions of Indonesia have their own unique patterns which normally take themes from everyday lives, incorporating patterns such as flowers, nature, animals, folklore or people. The colours of pesisir batik, from the coastal cities of northern Java, is especially vibrant, and it absorbs influence from the Javanese, Arab, Chinese and Dutch culture. In the colonial times pesisir batik was a favorite of the Peranakan Chinese, Dutch and Eurasians.[citation needed].
UNESCO designated Indonesian batik as a Masterpiece of Oral and Intangible Heritage of Humanity on October 2, 2009. As part of the acknowledgment, UNESCO insisted that Indonesia preserve their heritage.[1]

Batik or fabrics with the traditional batik patterns are also found in several countries such as Malaysia, Japan, China, Azerbaijan, India, Sri Lanka, Egypt, Nigeria, Senegal, and Singapore. Malaysian batik often displays plants and flowers, as Islam forbid pictures of other living beings
     ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน แล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ

คำว่าบาติก {Batik} หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า “ ติก ” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติก จึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ

Product made of woven vine


Delicate and exquisite works of art could be seen in several product types such as basket, bag, hat, utensils, etc.Piece of vine would be boiled to soften its skin, then peeled, cleaned and dried up. For creating any desirable works, we have to soak up vine materials in the water first



ผลิตภัณฑ์การจักสานเครือเถาวัลย์ผลิตภัณฑ์การจักสานเครือเถาวัลย์ ทำด้วยความประณีต สวยงาม มีให้เลือกมากมาย เช่น ตะกร้า กระเป๋า ย่าม หมวกจักรยาน และเครื่องใช้ต่าง ๆ นำเครือเถาวัลย์มาต้มเพื่อให้เปลือกอ่อนตัว และลอกเอาเปลือกออก ทำความสะอาดและตากแดดให้แห้ง ก่อนนำมาประดิษฐ์แช่น้ำก่อนเพื่อให้อ่อนตัว นำมาประดิษฐ์เป้นของชำร่วย เครื่องใช้ในครัวเรือน

Handmade- Handicraft


Thai handicraft – the art of hands
  He know-how of craftsmanship has been passed from generation to generation in the family or has been exchanged with neighbors in the vicinity. As the work has been repeatedly produced, it enhances experience and skills in creating any work, turning from the ordinary piece of work into the extraordinarily exquisite products
หัตถกรรม : ศิลปะจากปลายมือความรู้ในการสร้างงานหัตถกรรมมักได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาภายในครอบครัว หรือแลกเปลี่ยนกันระหว่างเพื่อนบ้าน การผลิตงานซ้ำ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการการใช้สอยของผุ้คน ทำให้เกิดความชำนาญในการสร้างสรรค์งาน ความชำนาญและประสบการณ์ที่ได้รับการบ่มเพาะมาเป็นเวลานาน นำไปสู่การสร้างงานที่มีคุณค่าทางสุนทรียภาพและความงามทางศิลปะ ทำให้จากงานหัตถกรรมธรรมดากลายเป็นงานที่เรียกว่าศิลปหัตถกรรม ที่สวยงามน่าใช้ แฝงสุนทรียภาพและภูมิปัญญาของผู้สร้าง
     งานหัตถกรรมจึง เป็นวัตถุทางวัฒนธรรมที่ไม่เพียงแต่จะสะท้อนวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คน หากยังสะท้อนค่านิยม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาที่สะสมสืบทอดกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ที่สามารถนำไปสู่การศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้าน ของแต่ละกลุ่มชนในท้องถิ่น เรารู้จักใช้ธรรมชาติรอบ ๆตัวมาประดิษฐ์สร้างสรรค์งาน

ความเป็นมาหัตถกรรม ( Hand crafts) หมายถึง เครื่องมือเครื่องใช้ที่สร้างขึ้นด้วยมือเป็นหลัก เช่น การปั้น การแกะสลัก การจักสาน ซึ่งเกิดจากฝีมือช่างเพียงคนเดียวหรือมากกว่าหนึ่งคนพื้นบ้าน (folk) นักคติชนวิทยาได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง กลุ่มชนใดคนหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์หรือลักษณะร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจจะเป็นลักษณะของการเลี้ยงชีพที่คล้ายคลึงกัน พูดภาษาเดียวกัน นับถือศาสนาเดียวกัน มีขนบประเพณีเดียวกันหัตถกรรมพื้นบ้านทำขี้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ แต่หัตถกรรมพื้นบ้านบางอย่าง มีความงามร่วมอยู่ด้วย อาจเป็นในด้านรูปทรง ลวดลาย สีสัน ความละเอียด ประณีตของวัสดุการทำ ดังนั้นหัตถกรรม พื้นบ้านบางอย่างจึงจัดเป็นงานศิลปะซึ่งเรียกว่า ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ได้มีผู้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ถ้าวัตถุนั้น ผู้สร้างให้ความสำคัญด้านความงามมากกว่า ประโยชน์ใช้สอยก็ถือว่า วัตถุนั้นเป็นศิลปหัตถกรรม แต่ถ้าวัตถุนั้นมีประโยชน์ใช้สอยมากกว่าก็ถือว่าเป็นงานหัตถกรรมสาเหตุของการสร้างหัตถกรรมพื้นบ้าน๑. ความจำเป็นในการดำรงชีวิตทำนา : ไถ, ไม้ขอฉาย (คันฉาย), กะพ้อมดักจับสัตว์น้ำ : ไซ, ตุ้ม, ข้อง, อีจู้เครื่องใช้ในครัวเรือน : กระบุง, กระจาด, ตุ่มน้ำ, หม้อ๒. สภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมบ้านเรือนริมคลอง๓. วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนาการทำตุง หรือธง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาหัตถกรรมพื้นบ้าน หมายถึง งานช่างหรืองานฝีมือของชาวบ้าน ที่ประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ไม้สอบภายในบ้าน ใช้เป็นสิ่งของสนองความเชื่อถือทางด้านประเพณี ศาสนา เช่น เป็นเครื่องบูชา ใช้เพื่อความสวยงามสนองความสุขทางจิตใจและเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพหัตถกรรม หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการกระทำด้วยฝีมือมนุษย์ โดยนำวัตถุดิบที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน งานหัตถกรรมจะมีการพัฒนารูปแบบไปตามการพัฒนาฝีมือของช่าง ที่สั่งสมประสบการณ์ และสืบทอดความรู้ ความชำนาญ จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและทักษะ ส่งผลให้งานหัตถกรรมมีความงามและมีคุณค่าทางศิลปะ งานหัตถกรรมจึงกลายเป็นงานศิลปหัตถกรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันจนไม่อาจแยกออกจากกันได้ศิลปหัตถกรรม มีความสัมพันธ์

ขอขอบคุณข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติสนง.วัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ตัวอย่างสินค้าผ้าบาติก

ตัวอย่างสินค้าผ้าบาติก
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตามความต้องการของลูกค้า ราคาเสื้อเริ่มต้น 350-บาท(ไม่รวมค่าส่ง)

product-amazon

ตัวอย่างตุ๊กตาชาววัง

ตัวอย่างตุ๊กตาชาววัง
ตุ๊กตามีหลายชุดอาทิ ชุดมวยไทย ชุดเณรน้อย ชุดดนตรีไทยเป็นต้น ราคาเริ่มต้นที่ 120.- บาท,

youtube

object width="325" height="444">

Followers

Made to order

Made to order
แนะนำสินค้า ผ้าบาติก ติดต่อ 081-9152376 จารุณี

สินค้า handmade เป็นสินค้าที่กลุ่มแม่บ้านจากชุมชุนต่างๆของไทย ที่ได้ัจัดทำขึ้นจากความชำนาญ ที่ถูกถ่่ายทอด กันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่าเป็นการนำเอาวัสดุในธรรมชาติมาผลิต และนำมาพัฒนา ดัดแปลงให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่พร้อมทั้งนำเอาเทคนิคใหม่มาพัฒนาให้เป็นสินค้า handmade ของแต่ละชุมชนโดยในการพัฒนานี้บ้างก็ได้รับความสนับสนุนจากภาครัฐบาล โดยได้จัดให้มีการอบรมนำเอาความรู้ใหม่มาพัฒนาจนเป็นสินค้าที่นิยมและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน จนบางครั้งใช้คำเรียกว่่าสินค้าเหล่านั้นว่า OTOP สินค้าเหล่านี้มีทั้งที่เป็นของประเทืองผิวพรรณ เป็นของใช้ในครัวเรือนบ้าง เป็นของตกแต่งบ้านซึ่งมีทั้งที่ทำจากไม้ จากใบลาน ที่รวมเรียกว่าเครื่องจักสาน รวมทั้งสินค้าพวกแฟชั่นสำหรับวัยรุ่น หากท่านที่สนใจในผลิตภัณฑ์ ของชุมชนต่างสามารถสอบถามและติดต่อเสอบถามราคาหรือจะเป็นตัวแทนจำหน่ายได้ที่ 081-9152376 หรือที่ email: charuneec@hotmail.com